การขอ work permit ในประเทศไทย

การขอ work permit ในประเทศไทย สามารถยื่นขอได้ 2 รูปแบบ คือ

ธุรกิจทั่วไป (ทุนจะทะเบียน 2 ล้านบาท)

ให้ไปดำเนินการและติดต่อได้ที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน หรือสำนักงานจัดหางานของแต่ละจังหวัดตามที่สถานประกอบการนั้นตั้งอยู่

ธุรกิจ BOI(ทุนจดทะเบียน 30 ล้านขึ้นไป)

ให้ดำเนินการรขอ work permit ผ่านระบบที่เรียกว่า Single Window for Visa and Work Permit และการออกใบอนุญาตทำงานดิจิทัล (Digital Work Permit) ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ONE STOP SERVICE CENTER FOR VISA AND WORKPERMIT) สามารถยื่นขอได้ทั้งในกรุงเทพ, เชียงใหม่ และภูเก็ต ทั้งนี้สามารถยื่นขอ Online โดยแนบสำเนาเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทางระบบออนไลน์ได้ที่ http://swe-expert.boi.go.th/ เมื่อการขออนุญาตการทำงานผ่านการอนุมัติจากในระบบ ลูกจ้างชาวต่างชาติจำเป็นต้องเดินทางไเพื่อยืนยันตัวตน ณ ศูนย์ยื่น ONE STOP SERVICE นั้นๆ ด้วยตนเอง

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตทํางานสําหรับคนต่างชาติ

1.
ขอวีซ่าประเภท Non-B

  • วีซ่าประเภทนี้อนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศไทยเพื่อทํางาน
  • ขอจากสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
  • มีอายุ 90 วัน ต้องขอก่อนเดินทางเข้าประเทศ

2.
ยื่นคําขอใบอนุญาตทํางาน

  • ยื่น ณ กระทรวงแรงงาน ภายใน 90 วัน ก่อนวีซ่าหมดอายุ
  • ผู้ยื่นและนายจ้างต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน

3.
รับใบอนุญาตทํางาน

  • ใช้เวลาพิจารณา 7-10 วันทําการ
  • มีอายุ 1 ปี ต่ออายุได้

4.
ขอขยายวีซ่าจาก 90 วัน เป็น 1 ปี

  • หลังได้รับใบอนุญาตทํางานแล้ว

หมายเหตุ: เงื่อนไขอาจแตกต่างกัน หากเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

เอกสารสำหรับยื่นคำขอรับใบ work permit

  1. เอกสาร บต.25 (การขอ work permit เป็นครั้งแรก ต้องทำการดาวโหลดเอกสาร บต.25 และยื่นเรื่องที่กรมการจัดหางาน)
  2. รูปถ่ายนาด 3×4 ซม. จำนวน 3 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน (กรณีขอใหม่)
  3. ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 1 เดือน)
  4. ประวัติส่วนตัว วุฒิการศึกษา และประวัติการทำงาน (กรณีขอใหม่)
  5. หนังสือเดินทางอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับจากวันที่ยื่น
  6. Visa Non-B (เหลือไม่ต่ำกว่า 21 วัน โดยปกติยื่นก่อนประมาณ 30 วัน)และ Work Permit เดิม (กรณีต่ออายุ)
  7. หนังสือรับรองแจ้งขออนุญาตให้ทำงานจากกระทรวงแรงงาน
  8. ภงด.91 ของคนต่างชาติ (กรณีต่ออายุ)
  9. เอกสารสำคัญของบริษัทที่จ้างงาน
  10. เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการหรือนายจ้าง

เอกสารที่ประกอบการพิจารณาตามประเภทของกิจการ/นายจ้าง

1. สถานประกอบการเอกชน

  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคลไทย และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน 6 เดือน) หรือนิติบุคคลต่างด้าวให้ยื่นสำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวออกตามพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ. 2542 พร้อมนำหลักฐานการนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายในประเทศ
  • สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ภ.พ.01 และ ภ.พ. 20 ) ที่ระบุประเภทกิจการ ภ.พ. 09 หากมีการเปลี่ยนแปลง
  • กรณีนายจ้างเป็นคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำงานของนายจ้าง หากนายจ้างผู้นั้นไม่ได้ทำงานในประเทศไทย และไม่มีใบอนุญาตทำงานต้องให้ Notary Public และสถานทูตไทยรับรองการมอบอำนาจให้กรรมการหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งลงนามแทน
  • กรณีนายจ้างประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายอื่น หรือต้องมีหนังสืออนุญาตให้ดำเนินกิจการจากหน่วยงาน ของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่นหนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน , หนังสืออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม , ใบอนุญาตองค์กรอาหารและยา , ใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว , ใบอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็น สถานที่จำหน่ายอาหาร ฯลฯ
  • บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว พร้อมเลขที่ใบอนุญาตทำงาน อยู่ในสถานประกอบการ แผนภูมิการแบ่งงานและแผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • สำเนาหลักฐานการจ่ายเงินประกันสังคมเดือนล่าสุด และสำเนาเอกสารรายได้ที่เป็นปัจจุบัน ได้แก่งบการเงิน และ ภงด.50 หรือ ภงด. 51(ปีล่าสุด) และ ภพ.30
  • รูปถ่ายสถานประกอบการ โดยมี 1.ป้ายชื่อบริษัท 2.ด้านหน้าเห็นตัวอาคารชัดเจน 3.ภายในสถานประกอบการอย่างน้อย 2 รูป (หากมีส่วนแยก หรือแผนกควรนำส่งด้วย)
  • แผนที่การเดินทาง

2. โรงเรียนเอกชน / มหาวิทยาลัยเอกชน

  • สำเนาหนังสือแต่งตั้งครูหรือผู้สอน (ผู้ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอน) ปฏิบัติหน้าที่ พร้อมสัญญาจ้าง / มหาวิทยาลัยเอกชนให้แสดงหนังสือรับรองการหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยระบุชื่อคนต่างด้าว ตำแหน่งและระยะเวลาการจ้าง
  • ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา) ยกเว้นตำแหน่งครูฝึกสอน หรือใบผ่อนผันใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
  • สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่ และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ / ใบอนุญาตต่างๆ (ถ้ามี) / สำเนาใบจัดตั้งมหาวิทยาลัยและคำสั่งแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามของมหาวิทยาลัย
  • เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา/ เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองความประพฤติ
  • ประวัติอาชญากรรม

3. หน่วยงานราชการ

  • หนังสือรับรองจากส่วนราชการ / รัฐวิสาหกิจ / องค์การมหาชน / เขตการศึกษา (กรณีครูโรงเรียนรัฐบาล ) โดยระบุชื่อ ตำแหน่ง และระยะเวลาการจ้างงาน
  • กรณีครูโรงเรียนรัฐบาลให้แสดงใบประกอบวิชาชีพครู ( ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ) ยกเว้น ตำแหน่งครูฝึกสอน
  • เอกสารแสดงวุฒิการศึกษา/ เอกสารแสดงผลการศึกษารายวิชา และเอกสารแสดงประสบการณ์การเป็นครู (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองความประพฤติ
  • ประวัติอาชญากรรม

4. มูลนิธิหรือสมาคม

  • หนังสือรับรองนิติบุคคลของมูลนิธิ สมาคม วัตถุประสงค์ พร้อมบัญชีรายชื่อคณะกรรมการ

5. กิจการถ่ายหรือทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ

  • หนังสือรับรองจากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว ใบอนุญาตเป็นผู้ประสานงาน พร้อมรายชื่อ – ตำแหน่งงาน และเลขที่หนังสือเดินทางของคนต่างด้าว
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ไม่เกิน6 เดือน)

การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน

  • ใบอนุญาตทำงานจะได้รับการพิจารณาต่ออายุไม่เกิน 1 ปีในแต่ละครั้ง
  • จำเป็นต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุก่อนหมดอายุอย่างน้อย 30 วัน

ในระหว่างการพิจารณา

  • ผู้ถือใบอนุญาตสามารถทำงานได้ตามปกติ จนกว่าจะได้รับผลการพิจารณา
  • ปกติจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วันทำการในการรับผลการพิจารณา

หากใบอนุญาตทำงานไม่ได้รับการอนุมัติ

  • หากการต่ออายุไม่ผ่าน หรือการอุทธรณ์ไม่สำเร็จ และนายจ้างยังคงให้ทำงานต่อ อาจมีความผิดทางกฎหมาย
  • โทษที่อาจเกิดขึ้น: จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แนะนำ

  • อย่าปล่อยให้ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการทำงานของคุณ
  • บต.25 คือเอกสารที่ใช้ในการต่ออายุ work permit และยื่นเรื่องที่กรมการจัดหางานเช่นกัน

สถานที่ยื่น

  • กระทรวงแรงงาน ของแต่ละจังหวัด ของกรุงเทพเป็น One Stop Service ทำให้ได้ทั่วประเทศ

ราคาค่าธรรมเนียม

  • 3000 บาท (หรือค่าธรรมเนียมอนุมัติตามระยะเวลาจากเอกสารประกอบ ชำระโดยบัตรเครดิตหรือเดบิทเท่านั้น)

ขอใบอนุญาตทํางาน
เพียง 3 ขั้นตอนง่ายๆ

การปรึกษาหารือ

การปรึกษาฟรีสําหรับขอใบอนุญาตทํางานและวีซ่า ติดต่อเราเพื่อตัดสินใจว่าคุณต้องการใช้บริการของเราหรือไม่ และจ่ายค่าบริการเพื่อเตรียมพร้อมสําหรับขั้นตอนต่อไป

การเตรียมและการนัดหมาย

รายการเอกสารที่ต้องใช้ รวบรวมเอกสาร ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนัดหมาย พร้อมความช่วยเหลือในทุกขั้นตอน

รับผลใบอนุญาตทํางาน

7-15 วัน ทําการ